วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

บทที่2


บทที่2 หลักการ ทฤษฎี แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา  ประกอบด้วย
1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
    1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้   ได้มาจาก 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มพฤติกรรมและกลุ่มความรู้
    1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและวัฒนธรรม ทำให้มีพฤติกรรมที่ออกมาแตกต่างกัน
    1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ ประกอบด้วย ทฤษฎีของเปียเจท์ บรูนเนอร์ อิริคสัน กีเซล
2. ทฤษฎีการสื่อสาร   รศ.ดร.สาโรช โศภี ได้กล่าวว่า การสื่อสาร (communication ) คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญญลักษณ์ สัญญาน หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ส่งสาร ข้อมูล ข่าวสาร สื่อ และผู้รับสื่อ
3. ทฤษฎีระบบ   จัดเป็นสาขาวิชาเกิดขึ้นช่วงปลายทศวรรษที่ 20 ทฤษฎีระบบเป็นสาขาวิชาที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวความคิดหลายสาขา โดยทำแนวคิดจากหลายสาขาวิชามาประยุกต์ผสมผสานสร้างเป็นทฤษฎีระบบขึ้นมา
4. ทฤษฎีการเผยแพร่ กฤษมันท์ วัฒนาณรงค์(2550: หน้า 32-41) กล่าวว่า ทฤษฎีการเผยแพร่นั้น เกิดจากการผสมผสานทฤษฎีหลักการและความรู้ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มี ศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ แต่ละศาสตร์ก็จะมีส่วนประกอบเฉพาะในส่วนที่เป็นนวัตกรรมของศาสตร์นั้นๆ ผลจากการรวบรวมกระบวนการวิธีการและทฤษีการเผยแพร่ของศาสตร์ต่างๆนำไปสู่การ สร้างทฤษฎีการเผยแพร่ขึ้น
การประยุกต์ทฤษฎีมาใช้ในนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
การจัดการเรียนการสอนปัจจุบันได้นำทฤษฎีและหลักการแนวคิดทางเทคโนโลยีการ ศึกษาในทัศนะต่างๆมาใช้ร่วมกันอย่างผสมผสานเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพของการสอน เทคโนโลยีทางการศึกษาการใช้วัสดุอุปกรณ์เข้าช่วยในการจัดการเรียนการสอนได้ มีบทบาทอย่างมากในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการสอน ให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่มั่นใจได้ว่า จะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 4 ประการ คือ
1. ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขัน ด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้
2. ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลัน ช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป
3. ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ
4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย ไม่เกิดความคับข้องใจ เรียนด้วยความสนใจ พอใจ และไม่เบื่อหน่าย
จากหลักการและแนวคิดข้างต้นจะเห็นว่าการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน
การจัดทำแผนภาพแผนภูมิหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนซึ่งไม่เคยใช้ มาก่อนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดให้มีการสร้างจัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบ การสอนเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนการจัดให้ครูทำบันทึกการสอนตาม ลำดับขั้นตอนการสอนของกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งครูไม่เคยทำการบันทึกมาก่อน เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยสร้างบทเรียนสำเร็จ รูปใช้ในการเรียนการสอนอย่างนี้เป็นการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ขอเสนอแนวดำเนินการการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูป และบทเรียนโปรแกรม เพื่อใช้ในการเรียนการสอน
สื่อการสอน
สื่อ การสอน หมายถึง ตัวกลางที่ถ่ายถอดสารสนเทศไปสู่ผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นวัสดุ เครื่องมือและเทคนิควิธีการที่ผู้สอนนำมาประกอบการเรียนการสอน เพื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้เรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการค้นคว้าหรือการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตสื่อการสอนและสื่อ การเรียนรู้ มีความเหมือนกันคือ เป็นเครื่องมือที่ใช้ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้ มีความแตกต่างกันคือ สื่อการสอน ยังเป็นเพียงตัวกลางที่ใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาและความรู้เท่านั้น และผู้สอนเป็นผู้นำมาหรือจัดเตรียมเพื่อประกอบการเรียนการสอน แต่สื่อการเรียน เป็นเครื่องมือที่ใช้ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ เพิ่มพูนทักษะ ผู้เรียนสามารถค้นคว้าและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตได้


การ เรียนการสอนในยุคปัจจุบันไม่สามารถจะจำกัดอยู่แต่เพียงในห้องเรียนเท่านั้น อีกต่อไปแล้วพฤติกรรมทางการเรียนรู้และการจัดสถานการณ์เพื่อให้เกิดกระบวน การทางการเรียนรู้อาจจัดขึ้นณที่ใดๆก็ได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และโอกาส เครื่องมืออย่างสำคัญที่จะช่วยให้การจัดสถานการณ์ทางการเรียนรู้มี ประสิทธิผลที่จำเป็นได้แก่สื่อการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา หากขาดสิ่งดังกล่าวนี้แล้ว การจัดสถานการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ย่อมจะขีดวงจำกัดเข้ามาเป็นอย่างมาก สื่อการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้น สามารถสร้างสถานการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอันมาก อาจกล่าวได้ว่า โดยปกติจากขอบเขตจำกัด ทั้งเวลาและสถานที่ ถ้าหากว่ามีอุปกรณ์และเครื่องมือพร้อม ก็จะช่วยขจัดข้อจำกัดดังกล่าวได้

ดังนั้น สื่อการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา จึงเปรียบเสมือนมือไม้ของครูที่สำคัญจะขาดเสียไม่ได้ในการจัดการเรียนการสอน ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดก็ตามด้วยเหตุนี้เองมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัยจึงได้จัดหลักสูตรการเรียนการสอนในรายวิชานี้ขึ้นตามจุดประสงค์ที่ ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

1.สื่อการสอน
นักวิชาการ และนักเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ให้ความหมายของ สื่อการสอน ไว้หลายท่าน พอสรุปได้ ดังนี้

เชอร์ส (Shores. 1960 : 1) กล่าวว่า สื่อการสอนเป็นเครื่องมือช่วยสื่อความหมายใด ๆ ก็ตามที่จัดโดยครูและนักเรียน เพื่อเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ ทรัพยากรจากชุมชน เป็นต้น
ฮาส และแพคเกอร์ (Hass and PacKer. 1964 : 11) กล่าวว่า สื่อการสอน คือ เครื่องมือที่ช่วยในการถ่ายทอดสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นจริงได้แก่ ทักษะ ทัศนะคติ ความรู้ ความเข้าใจ และความซาบซึ้งไปยังผู้เรียน หรือเป็นเครื่องมือประกอบการสอน ที่เราสามารถได้ยินและมองเห็นได้เท่า ๆ กัน
บราวน์ และคนอื่น ๆ (Brown and other. 1964 : 584) กล่าวว่า สื่อการสอนหมายถึง จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียน จนเกิดผลการเรียนที่ดีทั้งนี้รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ไม่เฉพาะที่เป็นวัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์ เป็นต้น
เกอร์ลัช และอีลี (ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2526 :141 : อ้างอิงมาจาก Gerlach and Ely.) ได้ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน คือ บุคคล วัสดุหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำให้นักเรียนได้รับความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ครู หนังสือ และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนจัดเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น
ไฮ นิคส์ โมเลนดาและรัสเซล (Heinich, Molenda and Russel. 1985 : 5) ให้ทัศนะเกี่ยวกับสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นสไลด์โทรทัศน์วิทยุเทปบันทึกเสียงภาพถ่ายวัสดุ ฉายและวัตถุสิ่งตีพิมพ์ซึ่งเป็นพาหนะในการนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลไปยังผู้ รับ เมื่อนำมาใช้กับการเรียนการสอน หรือส่งเนื้อหาความรู้ไปยังผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอน เรียกว่า สื่อการสอน
เปรื่อง กุมุท (2519 : 1) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้อย่างดี
วาสนา ชาวหา(2522:59) กล่าวว่าสื่อการสอนหมายถึงสิ่งใดๆก็ตามที่เป็นตัวกลางนำความรู้ไปสู่ผู้เรียนและทำให้การเรียนการสอนเป็นไป
ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526 : 4) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้ ซึ่งครูและนักเรียนเป็นผู้ใช้เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ชม ภูมิภาค (2526 : 5) กล่าวว่า สื่อการสอนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการสอน เป็นพาหนะที่จะนำสารหรือความรู้ไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2529 : 112) ให้ความหมายของสื่อการสอนว่า คือวัสดุ (สิ้นเปลือง) อุปกรณ์ (เครื่องมือที่ใช้ไม่ผุพังง่าย) วิธีการ (กิจกรรม เกม การทดลอง ฯลฯ) ที่ใช้สื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่ง หรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ (อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ และค่านิยม) และทักษะไปยังผู้เรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พิมพ์พรรณ เทพสุมาธานนท์ (2531 : 29) กล่าวว่าสื่อการสอนหมายถึงสิ่งต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับ ให้การสอนของครูกับผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้เป็นอย่างดี
สรุป ได้ว่า สื่อการสอน หมายถึงวัสดุ เครื่องมือและเทคนิควิธีการที่ผู้สอนนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนเพื่อให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.ประเภทของสื่อการสอน
สื่อ การสอนนั้นมีมากมายและได้พัฒนาให้เกิดขึ้นใหม่อยู่เสมอตามความเจริญก้าวหน้า ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักเทคโนโลยีการศึกษา ได้กำหนดและแบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้ หลายท่านดังนี้
Dale (1969 : 107 -128) ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 11 ประเภทโดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการสอน โดยยึดความเป็นรูปธรรมและนามธรรม(ConcreteandAbstract)เป็นหลักในการแบ่ง ประเภทและได้แบ่งประเภทสื่อการสอนในรูปกรวยประสบการณ์ (The Cone of experience) โดยให้สื่อที่มีความเป็นรูปธรรมมากที่สุดไปไว้ที่ฐานกรวยและสื่อที่เป็น นามธรรมน้อยที่สุดไปไว้ที่ยอดกรวย ดังนี้
1. ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย ( Direct and Purposeful Experiences ) เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับจากความเป็นจริง ผู้รับประสบการณ์ได้รับโดยการผ่านทางประสาทสัมผัสของจริงในชีวิต และประสบการณ์เหล่านั้นมีความหมายต่อผู้ได้รับประสบการณ์
2. ประสบการณ์จำลอง ( Contrived Experiences ) เป็นประสบการณ์ที่จำลองแบบจากของจริง เพราะของจริงอาจมีขนาดใหญ่ หรือมีความซับซ้อนเกินไป ถ้าใช้ของจำลองอาจทำให้เข้าใจง่ายกว่า ประสบการณ์นี้ ได้แก่ ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง เป็นต้น
3. ประสบการณ์นาฏการ (Dramatized Experiences) เป็นการมีส่วนร่วมในการแสดง ประสบการณ์ได้จากการศึกษาเนื้อเรื่องที่จะแสดง การจัดฉาก การบอกบท การแต่งบทละคร ฯลฯ
4. การสาธิต (Demonstrations) เป็นการให้ดูตัวอย่างประกอบการอธิบายการสาธิตที่ดีต้องมีอุปกรณ์ประกอบ ผู้สาธิตควรรู้จักการใช้อุปกรณ์นั้นด้วย เช่น การสาธิต การทดลองทางวิทยาศาสตร์ การสาธิตท่ากายบริหารต่าง ๆ ฯลฯ
5. การศึกษานอกสถานที่ (Study Trips) หมายถึง การพาผู้เรียนไปศึกษานอกสถานที่ เพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์และความรู้กว้างขวางขึ้น เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนประสบกับบางสิ่งโดยตรง ซึ่งไม่สามารถจัดได้ในห้องเรียน
6. นิทรรศการ (Exhibitions) หมายถึง การแสดงสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ดูซึ่งอาจรวมเอา หุ่นจำลอง การสาธิต แผนภูมิ ฯลฯ ไว้เพื่อให้ผู้ดูรับประสบการณ์ต่าง ๆ จากสิ่งเหล่านั้น
7. โทรทัศน์การศึกษา (Education Television) รายการโทรทัศน์จะทำให้ผู้เรียนได้เห็นภาพและได้ยินเสียงเหตุการณ์และความ เป็นไปต่าง ๆ ในขณะเดียวกับที่มีการถ่ายทอดเหตุการณ์นั้น ๆ อยู่
8.ภาพยนตร์ (motionPicture) เป็นการจำลองเหตุการณ์มาให้ผู้เรียนได้ดูได้ฟังใกล้เคียงกับความเป็นจริงแม้ จะไม่ใช่เวลาเดียวกันกับเหตุการณ์จริงสามารถใช้ได้ดีในการประกอบ
การสาธิต เพราะเปิดโอกาสให้ผู้ดูได้เห็นเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด
9. ภาพนิ่ง (Recordings. Radio. And Still Pictures) ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาด แผ่นโปร่งใส สไลด์ การบันทึกเสียงต่างๆ และวิทยุสามารถใช้กับการเรียนเป็นกลุ่มหรือรายบุคคลภาพสามารถจำลองความเป็น จริงมาให้เราได้ศึกษาส่วนวิทยุและการบันทึกเสียงให้ความรู้แก่ผู้ฟังโดยไม่ ต้องอ่าน
10.ทัศนสัญลักษณ์ (Visul Symbols) ได้แก่ แผนภาพ แผนภูมิ แผนสถิติ ภาพโฆษณา การ์ตูน ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับการถ่ายทอดความหมาย นำมาใช้แทนความหมายที่เป็นข้อเท็จจริง
11.วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbols) ได้แก่ คำพูด ตัวหนังสือ ตัวอักษรผู้ที่จะเข้าใจสัญลักษณ์นี้ได้ต้องอาศัย ประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐานมากพอสมควร

เปรื่อง กุมุท (2521 : 98-99) ได้กล่าวว่า สื่อการสอนมีขอบเขตครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
1.บุคคล นอกจากครูบรรณารักษ์และคนอื่นๆ ที่โรงเรียนมีอยู่แล้วยังหมายถึงใครก็ได้ที่ไม่ได้ผลิตมาสำหรับโรงเรียน บุคคลเหล่านี้สามารถนำมาใช้เพื่อการเรียนรู้ได้เช่น วิทยากร เป็นต้น
2. วัสดุ หมายถึง อุปกรณ์ การสอนที่โรงเรียนมีอยู่ เช่น ของจริง รูปภาพ เป็นต้น
3. อุปกรณ์และเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องเสียงต่าง ๆ รวมทั้งห้องปฏิบัติการทดลอง และห้องปฏิบัติการทางภาษา ตลอดจนเครื่องมือและวัสดุฝึกต่าง ๆ
4. สถานที่ หมายถึง อาคาร โรงเรียนฝึกงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ และแหล่งวิทยาการอื่น ๆ ภายในโรงเรียน
5. กิจกรรม หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในโรงเรียน เช่น การสาธิต ทดลอง นาฏการ การแสดงนิทรรศการ การศึกษานอกสถานที่ เป็นต้น

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2529 : 112) ได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้ 3 ประเภท ดังต่อไปนี้คือ
1. วัสดุ หมายถึง สิ่งช่วยสอนที่มีการผุพังสิ้นเปลือง เช่น ชอล์ก ฟิล์ม ภาพถ่าย สไลด์
2. อุปกรณ์ หมายถึง สิ่งช่วยสอนที่เป็นเครื่องมือ เช่น กระดานดำ กล้องถ่ายรูป เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ
3. กระบวนการและวิธีการ ได้แก่ การจัดระบบ การสาธิตทดลอง เกมส์ และกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะกิจกรรมที่ครูจัดขึ้นและมุ่งให้ผู้เรียนปฏิบัติ

กิดานันท์ มลิทอง (2531 : 79 - 80) ได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้ 5 ประเภท โดยแบ่งตามทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning Resources) ได้เป็นสื่อที่ออกแบบขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายทางการศึกษาและสื่อที่อยู่ทั่วไป แล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่
1.คน (People) ในทางการศึกษาโดยตรงนั้นหมายถึงบุคลากรที่อยู่ในระบบโรงเรียนได้แก่ครูผู้ บริหารผู้แนะแนวการศึกษาผู้ช่วยสอนหรือผู้ที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ส่วนคนตามความหมายของการประยุกต์ใช้นั้น ได้แก่ คนที่ทำงานหรือมีความชำนาญงานในแต่ละสาขาซึ่งมีอยู่ในวงสังคมโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งคนเหล่านี้นับเป็นผู้เชี่ยวชาญถึงแม้จะไม่ใช่นักการศึกษาแต่ก็สามารถจะ ช่วยอำนวยความสะดวกหรือมาเป็นวิทยากรเพื่อเสริมการเรียนรู้ได้ในการให้ความ รู้แต่ละด้าน เช่น ศิลปิน นักการเมือง นายธนาคาร ช่างซ่อมรถยนต์ ฯลฯ เป็นต้น
2. วัสดุ (Materials) วัสดุในการศึกษาโดยตรงจะเป็นประเภทที่บรรจุเนื้อหาบทเรียนรู้โดยรูปแบบของ วัสดุมิใช่สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงเช่นหนังสือ สไลด์ ฟิล์มสตริป แผนที่ เป็นต้น หรือสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันซึ่งเป็นทรัพยากรทางการเรียนและได้รับการออกแบบเพื่อช่วยอำนวย ความสะดวกในการเรียน ส่วนวัสดุที่นำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนนั้นจะมีลักษณะเช่นเดียวกับ วัสดุที่ใช้ในการศึกษาดังกล่าวข้างต้นเพียงแต่เนื้อหาที่บรรจุในวัสดุนั้น ส่วนมากจะอยู่ในรูปของการให้ความบันเทิง เช่นการจัดนิทรรศการภาพเขียนหรือภาพยนตร์สารคดีชีวิตสัตว์เป็นต้นซึ่งสิ่ง เหล่านี้มักถูกมองไปในรูปของความบันเทิงแต่สามารถให้ความรู้ทางการศึกษาได้ เช่นกัน
3. อาคารสถานที่ (Settings) หมายถึง ตัวตึก สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลเกี่ยวข้องกับทรัพยากรรูปแบบอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้วและกับผู้เรียนด้วย ซึ่งสถานที่สำคัญในการศึกษา ได้แก่ ตึกเรียนและสถานที่อื่น ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อการเรียนการสอนโดยส่วนรวม เช่น ห้องสมุด หอประชุม สนามเด็กเล่น เป็นต้น ส่วนสถานที่ต่าง ๆ ในชุมชนก็สามารถใช้เป็นทรัพยากรสื่อการเรียนได้ เช่น โรงงาน ตลาด สถานที่ทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น
4. เครื่องมือและอุปกรณ์ (ToolandEquipment)เป็นทรัพยากรการเรียนรู้ที่ช่วยในการผลิตหรือใช้ร่วมกับ ทรัพยากรอื่นส่วนมากเป็นเครื่องมือทางด้านโสตทัศนูปกรณ์หรือเครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่ตะปู ไขควง เป็นต้น
5. กิจกรรม (Activities) โดยทั่วไปและกิจกรรมที่กล่าวถึงนี้มักเป็นการดำเนินงานที่จัดขึ้นเพื่อกระทำ ร่วมกับทรัพยากรอื่นๆหรือเป็นเทคนิควิธีการพิเศษเพื่อการเรียนการสอน เช่นการสอนแบบโปรแกรมเกมและสถานการณ์จำลองหรือการจัดทัศนศึกษากิจกรรมเหล่า นี้มักมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่ตั้งขึ้นมีการใช้วัสดุการเรียนเฉพาะวิชาหรือมี วิธีการพิเศษในการเรียนการสอน

จากการที่นักเทคโนโลยีการศึกษาได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้นั้น พอจะสรุปได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ประเภทวัสดุ ( Material or Software ) เป็นสื่ออยู่ในรูปของภาพ เสียง หรือตัวอักษร แยกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1.1 ชนิดที่สามารถสื่อความหมายได้ด้วยตัวของมันเอง เช่น รูปภาพ แผนภูมิ ภาพวาด หนังสือ เป็นต้น
1.2 ชนิดที่ต้องอาศัยเครื่องมือเสนอเรื่องราวไปสู่ผู้เรียน เช่น ภาพโปร่งแสง สไลด์ แถบบันทึกเสียง ฟิล์มภาพยนตร์ เป็นต้น
2. ประเภทเครื่องมือ (Hardware or Equipment) หมายถึง เครื่องมือที่เป็นตัวกลางส่งผ่านความรู้ไปสู่ผู้เรียน เช่น เครื่องฉายชนิดต่าง ๆ เครื่องเสียงชนิดต่าง ๆ เครื่องรับและส่งวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งต้องอาศัยวัสดุประกอบเช่น ฟิล์มแถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ เป็นต้น
3. ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ (Technique or Method) หมายถึง เทคนิคหรือวิธีการที่จะใช้ร่วมกับวัสดุและเครื่องมือ หรือใช้เพียงลำพังในการจัดการเรียนการสอนได้แก่ การสาธิต การทดลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ เป็นต้น

3.หลักการใช้สื่อการสอน
การ ใช้สื่อการสอนนับว่ามีความสำคัญต่อการเรียนการสอนอย่างยิ่งทั้งนี้เพราะถ้า ใช้สื่อการสอนไม่ถูกต้องย่อมจะได้ผลน้อยหรือมีค่าเท่ากับไม่ได้ใช้เลยหาก เป็นดังนี้ย่อมไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ฉะนั้นการใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งจึงควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน และวางแผนการใช้อย่างรอบครอบการใช้สื่อการสอนในห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ นั้น ควรปฏิบัติตามหลักการดังนี้ คือ
1. หลักการเลือก ( Selection)
2. หลักการเตรียม ( Preparation)
3. หลักการนำเสนอ ( Presentation )
4. หลักการประเมินผล ( Evaluation )
มีนักวิชาการและนักเทคโนโลยีการศึกษา ทั้ง ต่างประเทศและในประเทศ ได้ให้หลักการปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนดังต่อไปนี้

1) หลักการเลือก (Selection)
โนเอล และลีโอนาร์ด (Noel and Leonard. 1962 :26-28 ) ให้หลักการเลือกสื่อการสอนไว้ ดังนี้
1. มีความเหมาะสมกับระดับสติปัญญาของผู้เรียน
2. เหมาะสมกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
3. เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
4. เหมาะสมกับเรื่องที่สอน
5. มีลักษณะที่น่าสนใจ
6. ตรงกับจุดประสงค์ในการสอน
7. ไม่เสียเวลาในการใช้มากเกินไป
8. เป็นแบบง่าย ๆ และไม่ซับซ้อนจนเกินไป
9. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น
10. ช่วยให้การเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่ผู้เรียน
11. ช่วยเพิ่มทักษะให้แก่ผู้เรียน
12. ให้ผลดีต่อการเรียนการสอนมากที่สุด
13. ราคาไม่แพงจนเกินไป

เดล (Dale. 1969 : 175 - 179 ) ได้ให้ข้อเสนอแนะในการเลือกสื่อการสอน ไว้ดังนี้
1. สื่อการสอนนั้นจะสามารถให้แนวคิดที่ถูกต้องได้เพียงใด
2. สื่อการสอนนั้นจะสามารถสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่เรียนได้ดี เพียงใด
3. สื่อการสอนนั้น ๆ เหมาะสมกับวัย สติปัญญา และประสบการณ์ต่าง ๆของผู้เรียนเพียงใด
4. สภาพแวดล้อมเหมาะที่จะใช้สื่อการสอนนั้น ๆ หรือไม่
5. มีข้อเสนอแนะสั้น ๆ ในการใช้สื่อการสอนนั้นสำหรับครูหรือไม่
6. สื่อการสอนนั้นสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาทางด้านความคิดได้หรือไม่
7. คุ้มค่ากับเวลาและการลงทุนหรือไม่

อีริคสัน (Erickson. 1971 : 97- 99) แนะนำว่าครูควรเลือกสื่อการสอนโดยพิจารณาจากคำถามต่อไปนี้
1.สื่อการสอนนั้นเป็นประโยชน์ต่อหน่วยการสอน และเป็นกิจกรรมในการแก้ปัญหาประสบการณ์เฉพาะหรือไม่
2.เนื้อหาที่ต้องใช้สื่อการสอนในการสื่อความหมายนั้นเป็นประโยชน์และสำคัญต่อผู้เรียน ชุมชน และสังคมหรือไม่
3.สื่อการสอนนั้นเหมาะกับจุดประสงค์การสอนหรือเป้าหมายของผู้เรียนหรือไม่
4.มีการตรวจสอบระดับความยากของจุดประสงค์การสอนเกี่ยวกับความเข้าใจความสามารถ เจตคติ และความนิยม
5.สื่อการสอนนั้นให้ความสำคัญต่อประสบการณ์จากการคิด การโต้ตอบ การอภิปรายและการศึกษา
6.เนื้อหาที่สอนในรูปของปัญหา และกิจกรรมของผู้เรียนหรือไม่
7.สื่อการสอนนั้นให้แนวคิดที่มีความสัมพันธ์กันหรือไม่
8.สื่อการสอนนั้นให้เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับขนาด อุณหภูมิ น้ำหนัก ระยะทางการกระทำ กลิ่น เสียง สี ความมีชีวิตชีวา อารมณ์หรือไม่
9.สื่อการสอนนั้นให้ความแน่นอนและทันสมัยหรือไม่
10.สื่อการสอนนั้นปรับให้เข้ากับจุดประสงค์ที่พึงปรารถนาได้หรือไม่
11.สื่อการสอนนั้นมีรสนิยมดีหรือไม่
12.สื่อการสอนนั้นใช้ในห้องเรียนธรรมดาได้หรือไม่
13.เนื้อหาความรู้ของสื่อการสอนมีตัวอย่างให้มากหรือไม่

ลัดดา ศุขปรีดี (2523 : 61-62) ได้ให้หลักเกณฑ์ในการเลือกสื่อการสอนและประสบการณ์ในการเรียนการสอนไว้ดังนี้
1.เลือกสื่อและประสบการณ์ที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายการสอน
2.เลือกสื่อและประสบการณ์ที่สอดคล้องกับลักษณะการตอบสนองและพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของผู้เรียนที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้น
3.เลือกสื่อและประสบการณ์ในการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับความสามารถและประสบการณ์เดิมของแต่ละคน
4.เลือก สื่อและอุปกรณ์พิเศษที่จะหาได้การเลือกสื่อจะต้องคำนึงถึงความสะดวกในการนำ สื่อการสอนนั้นมาใช้และไม่จำเป็นต้องใช้สื่อการสอนที่มีราคาแพงเสมอไป

วาสนา ชาวหา (2522 : 64) ได้เสนอแนวคิดในการเลือกใช้สื่อการสอไว้ดังนี้
1. ให้ความเหมาะสมและสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม
2. เหมาะสมกับวัย กิจกรรมหรือประสบการณ์ที่จัดขึ้นเพื่อการเรียนการสอน
3. เหมาะสมกับวัยและความสนใจของผู้เรียน
4. คำนึงความประหยัดและให้ผลคุ้มค่ากับการลงทุนทั้งในด้านเงินทุนและเวลาที่เสียไป
5. ใช้ได้สะดวกและปลอดภัย

ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526:157) กล่าวว่าการเลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาเกื้อหนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพราะหากครูเลือกสื่อที่ไม่ เหมาะสมเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนแล้ว การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นอาจไม่บรรลุสำเร็จตามจุดมุ่งหมายควรเลือก สื่อการสอนโดยยึดหลัก ดังนี้
1. สื่อต้องสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายและเรื่องที่จะสอน
2. สื่อที่ต้องเหมาะสมกับความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
3. เหมาะสมกับวัยและระดับของผู้เรียน
4. เนื้อหาและวิธีใช้ไม่ยุ่งยากและซับซ้อนจนเกินไป
5. น่าสนใจและทันสมัย
6. เนื้อหามีความถูกต้อง
7. เทคนิคการผลิตดี เช่น ขนาด สี เสียง ภาพ ความจริง เป็นต้น
8. เป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน
9. สามารถนำเข้าร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดี
10.ถ้า มีสื่อการสอนหลายอย่างในเรื่องเดียวกันให้กำหนดว่าสื่อใดเหมาะสมที่สุดที่จะ ให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้เรียนได้ดีที่สุด ในเวลาอันสั้น
สุนันท์ สังข์อ่อง (2526:16-18) ได้กำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนให้เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพ ครูอาจพิจารณาโดยใช้คำถามต่อไปนี้เป็นแนวทางสื่อที่จะนำมาช่วยให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้เนื้อหาตามหลักสูตรหรือไม่
1. สื่อชนิดนั้นเหมาะสมกับวัยหรือระดับชั้นของผู้เรียนหรือไม่
2. สื่อชนิดนั้นให้เนื้อหาความรู้ที่ทันเหตุการณ์และเวลาในขณะนั้นหรือไม่มี ความถูกต้องน่าเชื่อถือในเนื้อหาที่เสนอให้แก่ผู้เรียนมากน้อยเพียงใด
3. สื่อชนิดนี้ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียน คิดและสืบเสาะหาความรู้ได้มากกว่าที่จะไม่ใช้สื่อการสอนหรือไม่
4. สื่อชนิดนั้นช่วยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มใหญ่หรือรายบุคคลหรือไม่
5. ระยะเวลาในการเลือกสื่อการสอนนั้นเหมาะสมหรือไม่
6. สื่อชนิดนั้นเป็นที่น่าสนใจในด้านเทคนิคการผลิตหรือไม่ เช่น ลักษณะการจัดภาพเสียง ขนาด รูปแบบของการเสนอ เป็นต้น
7. คุ้มกับเวลาการลงทุนหรือไม่ ถ้าจำแนกสื่อนั้นมาใช้
8. สื่อชนิดนั้นเป็นที่ดึงดูดใจและน่าสนใจหรือไม่
9. สื่อนั้นช่วยเสนอแนะกิจกรรมอื่น ๆ ที่ผู้เรียนอาจปฏิบัติเพิ่มเติมได้หรือไม่

2) หลักการเตรียม (Preparation)
อีริคสัน และเคิร์ล (EricksonandCurl.1972:163-170) ได้กล่าวถึงการเตรียมก่อนการใช้สื่อการสอนต้องเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน ดังนี้
1. พัฒนาการสร้างความพร้อมเฉพาะอย่าง เช่น จะให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน ตอนไหน อย่างไร
2. แนะนำผู้เรียนเพื่อเป็นการเร้าให้เกิดการเรียนรู้จากสื่อที่ครูเลือกมา
3. สร้างกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสื่อการสอน
4. เลือกหาวิธีที่เหมาะสม ที่จะนำไปสู่การใช้สื่อการสอนนั้น ๆ
5. ใช้แหล่งการเรียนอื่น ๆ เพื่อสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียน

นอก จากนั้นยังต้องเตรียมและควบคุมเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกและจัดสถานการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนการใช้สื่อการสอนนั้นคุ้มค่ากับเวลา และทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจ และมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ครูควรมีความสามารถและทักษะพื้นฐานดังนี้
1. สามารถใช้เครื่องมือเทคโนโลยีทางการศึกษาได้
2. สามารถป้องกันและแก้ไขข้อขัดข้องของเครื่องมือต่าง ๆ ได้
3. สามารถจัดสภาพห้องเรียนได้ดี ถ้าเป็นการฉายก็สามารถจัดสภาพฉายได้ดี
4. สามารถติดตั้งเครื่องมือต่าง ๆ ได้ดี
5. ติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม สะดวกต่อการใช้และการติดตามและเปิดโอกาสผู้เรียนได้เข้ามีส่วนร่วมได้เป็นอย่างดี
6. สามารถวางแผนกำหนดช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสม
3) หลักการนำเสนอ (Presentation)
อีริคสัน และเคริ์ล (EricksonandCurl.1972:163-170)ได้ กล่าวว่าเพื่อให้การนำเสนอได้ผลครูควรมีความรู้ความสามารถและทักษะพื้นฐาน ดังนี้1. เลือกกิจกรรมการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน อยากรู้ตามจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
2. ใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นและชี้แนะ
3. ใช้การอภิปรายเพื่อนำไปสู่เนื้อหาและการสร้างมโนมติ
4. จัดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสมและสร้างกิจกรรมท้าทายในการแก้ปัญหา
5. ใช้สื่ออย่างมีลำดับ
6. จัดดำเนินการด้านการจัดสภาพการณ์ต่างๆ ในการใช้สื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้
7. สามารถจัดกลุ่มกิจกรรมให้ผู้เรียนหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ ได้ เช่น จัดป้ายนิเทศจัดมุมวิชาการ และการศึกษาค้นคว้ารายงานเพิ่มเติม เป็นต้น

4) หลักการประเมินผล (Evaluation)
อีริคสัน และเคิร์ล(Ericksonandcurl.1972:163-170) ครูควรประเมินผลทั้งจากตัวสื่อและจากการใช้สื่อการสอนของครูเองทำให้ทราบว่า สื่อนั้นมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใดและครูเองมีเทคนิคในการใช้ สื่อการสอนนั้นดีพอหรือไม่สื่อการสอนสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายการสอนหรือไม่ เพียงใดเพื่อนำไปปรับปรุงใช้ให้เหมาะสมในโอกาสต่อไป
ไฮนิกส์. โมเลนดา. และรัสเซล (Heinich. Molenda and ussel.1985 : 34-35) กล่าวว่า การประเมินผลควรกระทำใน 3 ลักษณะดังต่อไปนี้
1. การประเมินผลกระบวนการสอน เพื่อเป็นการตรวจสอบดูว่าผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ทั้งในด้านผู้สอน สื่อการสอน และวิธีสอน โดยในการประเมินผลนี้สามารถทำได้ทั้งในระยะก่อนการสอน ระหว่างการสอน และหลังการสอน
2. ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ว่ามีเกณฑ์เท่าใด การประเมินผลสามารถกระทำได้ เช่น วัตถุประสงค์ที่เป็นเชิงทักษะพิสัยอาจจะต้องเป็นการวัดกระบวนการของพฤติกรรม การตอบคำถามแบบปรนัย ถ้าเป็นวัตถุประสงค์เชิงจิตพิสัย การประเมินผลอาจต้องใช้การสังเกตเป็นเวลานานอย่างไรก็ตามการประเมินผลด้าน ต่างๆขึ้นอยู่กับการออกแบบและการวางแผนการสอนให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่กำหนด ไว้
3. การประเมินผลสื่อและวิธีใช้สื่อหรือวิธีการสอน เป็น การประเมินผลเพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มประโยชน์ของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปรับปรุงสื่อ ระยะเวลาในการนำเสนอ การประเมินผลต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อนำผลไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น สำหรับการนำไปใช้ครั้งต่อไป การประเมินผลอาจกระทำได้โดยการให้ผู้เรียนมีการอภิปรายและวิจารณ์สื่อการสอน และเทคนิคการสอน ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด


การออกแบบสื่อ
องค์ ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอน นั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะ ช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น มากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiL4I-54QEWpttUBoAxx6ky8LrcZBX3uBvjxPytHe-K9D_g5qEDQ4iFwMsGHQxUjw-hCa0iETiyQPGu8knVSd5cTcQXM3HiUusqT4xsKVt8gDbWs7xkN5B8AlqQsnOhcK-sF_NgaXnYCM0/s320/1967.jpg
สื่อการสอน คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา หลักในการใช้สื่อ ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของ สื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้
1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่
2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่
3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถุกต้องแก่นักเรียน
4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่ 6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่
7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี
8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่
9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่
10. ช่วยเวลาความสนใจ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjMo_rVRwO931bz8fvz2bEEITmN50ozz7xixSt5n-Cf5eRGgez4lu1FKkPHTt9QX4Z9x-DYmcK4gjZ_0IUmLqLduxlXsQDw0aMe0zi52dlSO4TaMSbKvQTNuaeUo_WgGywqGZs3SGcShKM/s320/1980.jpg
ประโยชน์ของสื่อ 1. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากวัตถุที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้สร้างแนวความคิดด้วยตนเอง 2. กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียนมากขึ้น 3. ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้งายขึ้นและสามารถจดจำได้นาน 4. ให้ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง 5. นำประสบการณ์นอกห้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษาในห้องเรียนได้ แม้ว่าสื่อการสอนจะมีประโยชน์และมีคุณค่าต่อการเรียนการสอน แต่ถ้าครูผู้สอนผลิตสื่อหรือนำสื่อไปใช้ไม่ตรงตามจุดประสงค์และเนื้อหา ก็อาจทำให้สื่อนั้นไม่มีประสิทธิภาพและยังทำให้การสอนนั้นไม่ได้ผลเต็มที่ ดังนั้นครูควรมีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบสื่อและการผลิตสื่อด้วย เพื่อให้สื่อนั้นมีทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน
การออกแบบสื่อการสอน การ ออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพ และมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน
องค์ประกอบของการออกแบบ 1. จุด ( Dots ) 2. เส้น ( Line ) 3. รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form ) 4. ปริมาตร ( Volume ) 5. ลักษณะพื้นผิว ( Texture ) 6.บริเวณว่าง ( Space ) 7. สี ( Color ) 8. น้ำหนักสื่อ ( Value )
การเลือกสื่อ การดัดแปลง และการออกแบบสื่อ (Select , Modify , or Design Materials ) การ เลือกสื่อที่เหมาะสมนั้นต้องพิจารณาตามหลัก 3 ประการ ดังนี้ 1. การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษามักจะมีทรัพยากรที่สามารถใช้เป็นสื่อได้อยู่แล้ว ดังนั้น สิ่งที่ผู้สอนต้องกระทำก็คือ ตรวจสอบดูว่ามีสิ่งใดที่จะใช้เป็นสื่อได้บ้าง โดยเลือกให้ตรงกับลักษณะผู้เรียนและวัตถุประสงค์ 2. การดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว ให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเวลาและงบประมาณในการดัดแปลงสื่อด้วย 3. การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ถ้าสื่อนั้นมีอยู่แล้วและตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการ สอน เราก็สามารถนำมาใช้ได้เลยแต่ถ้ามีอยู่โดยไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายเราก็ใช้วิธี ดัดแปลงได้ แต่ถ้าไม่มีสื่อตามที่ต้องการก็ต้องผลิตสื่อใหม่
การออกแบบผลิตสื่อใหม่ 1. จุดมุ่งหมาย ต้องพิจารณาว่าต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนอะไร 2. ผู้เรียน ควรได้พิจารณาผู้เรียนทั้งโดยรวมว่าเป็นใคร มีความรู้พื้นฐานและทักษะอะไรมาก่อน 3. ค่าใช้จ่าย มีงบประมาณเพียงพอหรือไม่ 4. ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค ถ้าตนเองไม่มีทักษะจะหาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาจากแหล่งใด 5. เครื่องมืออุปกรณ์ มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นพอเพียงต่อการผลิตหรือไม่ 6. สิ่งอำนวยความสะดวก มีอยู่แล้วหรือสามารถจะจัดหาอย่างไร 7. เวลา มีเวลาพอสำหรับการออกแบบหรือไม่ การวัดผลของสื่อและวิธีการ หลังจากที่เราออกแบบสื่อแล้วแล้วนำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ก็ควรมีการวัดผลของสื่อ เป็นการวัดประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มค่าของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ วัดเพื่อปรับปรุงสื่อวัดผลถึงระยะเวลาที่ในการนำเสนอสื่อว่าพอเหมาะหรือมาก เกินความจำเป็น การวัดผลสื่อนี้เพื่อผลในการใช้ดัดแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการนำไปใช้ใน อนาคต เราสามารถที่จะนำเอาผลการอภิปรายในชั้นเรียน การสัมภาษณ์ และการสังเกตผู้เรียนมาใช้เป็นแนวทางในการวัดผลสื่อได้